มีกี่วิธีที่จะสร้างเป็ดจาก LEGO ได้ (STEM and Computational Thinking)
รู้จักเป็ดกันไหมครับ ทุกคนย่อมรู้จักเป็ดตัวสีเหลืองในการ์ตูนอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่เราสามารถสร้าง เป็ดจาก lego เพียง 6 ชิ้น
กิจกรรม
แบ่งทีมไม่เกิน 3-5 คน แต่ละทีมจะได้ชินส่วน lego ดังนี้
หรือถ้าหาไม่ได้อาจจะใช้ชิ้นส่วนที่ใกล้เคียงก็ได้นะครับ
แต่ละทีมทำการประกอบโดยไม่ต้องดูแบบให้เวลา 5 นาที แล้วนำมาวางไว้ตรงส่วนกลาง
กลุ่มแรกมาก็จะได้ประมาณนี้
แต่กลุ่มหลังจากนั้นล่ะ
เป็ดแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน
เราสามารถสร้างเป็ดน้อยแบบนี้ได้กี่แบบกันนะ
ยิ่งทำยิ่งเยอะ เราสร้างสร้างเป็ด
ได้เป็นร้อยๆแบบไม่ซ้ำกันเลย
มันหมายความว่าอย่างไร
หลังจากแต่ละทีมสร้างเสร็จหมดแล้ว ให้ตัวแทนแต่ละทีมออกมา พรีเซนต์ แต่ห้ามพรีเซนต์เป็ดของตัวเอง ให้พรีเซนต์เป็ดของทีมอื่น(ในแง่บวกดู) และบรรยายกาศในห้องเรียนจะสนุกขึ้นมากเลยทีเดียว
แล้วเรียนแบบนี้ได้อะไร?
เมื่อเราเปรียบเทียบกับคณิตศาสตร์ เรามักจะตั้งโจทย์แบบนี้ใช่ไหม
7 + 4 = ?
และเด็กก็จะตอบว่า 11 และคำถามนั้นก็จบไป
แต่ถ้าเราเปลี่ยนใหม่
? + ? = 11
อะไรบ้างที่บวกกันได้ 11
ตำตอบของนักเรียนจะเปลี่ยนไป
มีตั้งแต่ 1+10 , 5+6 ไปจนถึง 11 +0 หรือ แม้กระทั่ง 5.5 + 5.5 ก็ไม่ผิด
แสดงให้เห็นว่า เรามีหลายวิธี ที่จะได้คำตอบ
การคิดแบบนี้ใกล้เคียงกับ computational thinking ซึ่งเป็นการคิดเชิงคำนวน
ซึ่งมีการ แยกย่อยปัญหา สร้าง pattern กำหนด abstraction และ สร้าง อัลกอริทึ่มการแก้ปัญหาอย่างอัตโนมัติ
นี่เป็นก้าวแรกสู่การเข้าสูโลกของ STEM ครับ ขอให้สนุกกับการเรียนนะครับ
อาจารย์วริศร์ รัตนนิมิตร
วิทยากรด้าน Coding STEM และ Robotic
ขอบคุณรูปจากเวบ https://youngbotbuilders.com/how-many-ways-can-you-build-a-duck/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น